คนที่อยากลงทุนเพื่อวางแผนอนาคต หรือวางแผนชีวิตหลังเกษียณ ก็คงจะมีคำถามว่า ลงทุน RMF กองไหนดี? อย่างที่เรารู้กันว่ากองทุน RMF คือ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ เหมาะกับคนที่อยากลงทุนแบบเสี่ยงต่ำ หรือแบบความเสี่ยงสูงก็เลือกได้เช่นกัน และเป็นกองทุนรวมที่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ แต่เงื่อนไขสำคัญที่นักลงทุนต้องรู้ก่อนเลยก็คือ ต้องถือครองอย่างน้อย 5 ปีขึ้นไป นับจากวันที่ลงทุนครั้งแรก และต้องถือครองจนถึงอายุ 55 ปี เท่านั้นถึงจะขายได้ นับว่าเป็นการลงทุนในระยะยาวของแท้ และตามที่กล่าวไปว่า กองทุน RMF เป็นกองทุนเพื่ออนาคตจริง ๆ สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ ส่วนผลกำไรที่จะได้รับนั้น ก็จะเติบโตให้เราได้เก็บเกี่ยวไว้ใช้ในอนาคตแน่นอน

How to เลือก RMF กองไหนดี ให้ตอบโจทย์ความต้องการส่วนบุคคล

นักลงทุนมือโปรอาจจะไม่ได้มีปัญหากับการเลือกกองทุน RMF กันเสียเท่าไหร่ แต่แน่นอนว่านักลงทุนมือใหม่หลายคนอาจจะยังไม่แน่ใจว่าควรเลือกกองทุน RMF อย่างให้ตอบโจทย์ ก่อนที่จะไปดูว่าจะลงทุน RMF กองไหนดี?  มาดูวิธีการเลือกกองทุน RMF กันก่อนดีกว่า

  1. รู้ความต้องการเพื่อตั้งเป้าหมาย

การรู้ถึงความต้องการของตนเองเพื่อตั้งเป้าหมาย นับว่าเป็นขั้นตอนสำคัญในการเลือกกองทุน RMF ที่เหมาะสมกับเรา โดยเราต้องคิดให้ละเอียดเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของการลงทุนในแต่ละครั้ง ตั้งคำถามกับตัวเราเองว่า เราลงทุนเพื่อเป้าหมายใด? กำหนดระยะเวลาลงทุนให้ชัดเจน เพราะ RMF เป็นกองทุนที่ต้องถือครองระยะยาว เราสามารถรับได้ไหมในการถือครองระยะยาว และการลงทุนทุกรูปแบบมีความเสี่ยง เราสามารถรับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นได้สูงแค่ไหน เป็นต้น

  1. ศึกษาข้อมูลกองทุนอย่างละเอียด

ก่อนจะตัดสินใจเลือกลงทุน ให้เราเริ่มต้นโดยค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับกองทุน RMF จากแหล่งข้อมูลที่เป็นทางการเสียก่อน เช่น เว็บไซต์ของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน, อ่านข้อมูลในหนังสือชี้ชวน, ส่วนข้อมูลโครงการและข้อผูกพัน, รายงานประจำปี และสรุปสาระสำคัญของกองทุน เพื่อให้เราเข้าใจคุณสมบัติและประสิทธิภาพของกองทุนอย่างดีที่สุด

  1. ทำการเปรียบเทียบกองทุน

เมื่อเรามีเป้าหมายและศึกษาข้อมูลของกองทุนที่เราสนใจแล้ว ขั้นตอนถัดไปก็คือการนำกองทุนที่สนใจทั้งหมดมาทำการเปรียบเทียบกัน เพื่อคนหาว่า กองทุนใดที่มีนโยบายการลงทุนที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ และมีระดับความเสี่ยงที่ตอบโจทย์เรามากที่สุด ทั้งนี้ไม่ว่าจะเลือกลงทุน RMF กองไหนดีก็ตาม อย่าลืมว่าการเลือกกองทุนเป็นเรื่องส่วนบุคคล จำเป็นต้องพิจารณาตามวัตถุประสงค์และความเหมาะสมของตนเองจริง ๆ ควรศึกษาข้อมูลอย่างละเอียดและประเมินความเสี่ยงให้ดีก่อนที่จะตัดสินใจลงทุน อย่าลงทุนตามเพื่อนเด็ดขาด

RMF กองไหนดี
  1. ลงทุนในเวลาที่เหมาะสม

การลงทุนกองทุนในเวลาที่เหมาะสมเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่ดีและลดความเสี่ยงในการลงทุนด้วย โดยให้พิจารณาจากราคาหน่วยการลงทุนร่วมด้วย เพราะราคาของหน่วยลงทุนไม่คงที่ มีปรับขึ้นลงอยู่ตลอด เราอาจจะต้องศึกษาเพิ่มเติมถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ด้วย เป็นต้น หรือเลือกวิธีการลงทุนด้วยการ DCA (Dollar-Cost Averaging) คือการลงทุนด้วยจำนวนเงินเท่า ๆ กันในแต่ละงวด เช่น ทุกวันเงินเดือนออก เป็นจำนวน 3,000 บาททุกเดือน วิธีนี้จะทำให้สามารถถัวเฉลี่ยต้นทุนได้สำหรับการลงทุนระยะยาว เช่น 5-10 ปีขึ้นไป จะทำให้ทรัพย์สินที่เราลงทุนมีต้นทุนเฉลี่ยเหมาะสม

3 กองทุนแนะนำ หากยังเลือกไม่ได้ว่าจะลงทุน RMF กองไหนดี

  1. กรุงศรีตราสารเงินเพื่อการเลี้ยงชีพ (KFCASHRMF) : ถ้าอยากให้มีความเสี่ยงน้อยที่สุดจะเลือก RMF กองไหนดี? ต้องเป็นกองทุนนี้เลย เพราะมีความเสี่ยงต่ำมาก อยู่ในระดับที่ 1 เท่านั้น ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนตราสารหนี้และเงินฝาก กองทุนระยะยาวจัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมการออมไว้ใช้ในชีวิตหลังเกษียณ
  2. กรุงศรีแอคทีฟตราสารหนี้เพื่อการเลี้ยงชีพ (KFAFIXRMF) : กองทุนความเสี่ยงปานกลางค่อนข้างต่ำ อยู่ในะดับที่ 4 ถือว่าเป็นอีกกองทุนหนึ่งที่น่าสนใจ ผสมผสานการลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเลือกลงทุนในตราสารหนี้และเงินฝาก ซึ่งรับรองโดยรัฐบาลหรือภาคเอกชนที่มีความน่าเชื่อถือ
  3. กรุงศรีโกลบอลสมาร์ทอินคัมเพื่อการเลี้ยงชีพ (KFSINCRMF) : เราขอแนะนำกองทุนความเสี่ยงมากขึ้นติดไว้เป็นตัวเลือกสักหนึ่งกอง กองทุนรวมตราสารหนี้กองนี้จะมีความเสี่ยงปานกลางค่อนข้างสูง อยู่ในระดับ 5 และมีการลงทุนไปยังต่างประเทศ คือ ลงทุนในกองทุนรวมต่างประเทศ “PIMCO GIS Income Fund (Class I-Acc)” หากนักลงทุนกังวลในเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน ลงทุนในกองทุนนี้สามารถสบายใจได้ เพราะป้องกันความเสี่ยงไว้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของมูลค่าเงินลงทุนในต่างประเทศ

อย่างไรก็ตามสิ่งที่สำคัญไม่แพ้การเลือก RMF กองไหนดี? คือ การวางแผนและกำหนดเป้าหมายในแบบของตนเอง เพื่อให้สามารถเลือกกองทุนที่ตอบโจทย์มากได้ที่สุด การลงทุนจำเป็นต้องสะสมประสบการณ์และมีการหาความรู้อยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นนักลงทุนมือใหม่หรือมือโปร ต้องจำไว้เสมอว่า ทุกการลงทุนนั้นมีความเสี่ยง เราจำเป็นต้องศึกษาและมีแผนสำรองเตรียมไว้อยู่เสมอ